วัดเกาะ จ.สมุทรสาคร
วัดเกาะ
วัดเกาะ ที่ตั้งตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เส้นทางเข้าสู่แหล่ง ใช้เส้น ทางหลวง หมายเลข 3091 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน แล้วเลี้ยวซ้าย ใช้เส้นทางเข้าหมู่บ้าน บริเวณแยกบางปิ้ง เข้าไป ประมาณ 5.5 กม.จะถึง สะพาน ข้าม แม่น้ำท่าจีน ข้ามสะพาน ไปประมาณ 0.5 กม. เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านเกาะประมาณ 1 กม. จะถึงวัด
ประวัติ
จากคำบอกเล่า ของ เจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน กล่าวว่า วัดเกาะสร้างขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2247 ไม่ปรากฏ นามผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่า ผู้สร้างเป็นชาวจีน เนื่องจาก บริเวณที่ตั้งวัด เดิมเป็นที่อยู่อาศัย ของชาวจีน เป็นส่วนใหญ่ ต่อมา สมัยกรุงธนบุรี ชาวรามัญ ได้อพยพ หลบ หนีภัยสงคราม จาก พม่า ซึ่งเข้ายึดครอง เมืองหงสาวดี เมืองหลวง ของมอญ ได้ เข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร พระมหากษัตริย์ไทย ได้ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ บริเวณ บ้านเกาะ ได้ร่วมมือร่วมใจกัน ซ่อมแซม วัดเกาะ ขึ้นในปี พ.ศ.2365 เพื่อเป็น ศูนย์กลางชุมชน โดย พื้นที่ ของวัดมีจำนวน 48 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ได้รับ พระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2385 จนถึงปัจจุบันนี้ วัดเกาะ มีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมาแล้ว จำนวน 9 รูป
จากคำบอกเล่า
พระอุโบสถ (หลังเก่า)
พระอุโบสถหลังนี้ เป็นพระอุโบสถหลังที่ 2 ของวัดเกาะ เนื่องจากในสมัย "พระอธิการสอน" เจ้าอาวาสองค์ที่7 (พ.ศ.2454-2462)เห็นว่า พระอุโบสถหลังเก่านั้นชำรุด ทรุดโทรมมาก จึงได้ร่วมกับ ชาวบ้านเกาะ รื้อพระอุโบสถหลังเก่า แล้วก่อสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2459 แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ก็มรณภาพเสียก่อน การก่อสร้างพระอุโบสถ มาแล้วเสร็จในสมัย "พระครูกร่าง รมมโณ" เจ้าอาวาสองค์ที่ 8 (พ.ศ.2463-2505)
พระอุโบสถหลังนี้
พระอุโบสถ (หลังใหม่) ลักษณะของพระอุโบสถ ที่ก่อสร้างใหม่ เป็นพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ลดชั้น 2 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ 2 ตับ เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์ ไม้ แกะสลักประดับกระจก หน้าบันทั้งสองด้านเป็นรูปเทพพนม ประดับตกแต่งด้วยลายก้านขด ด้านล่างมีลายกระจัง และประจำยามรองรับ หน้าบันปีกนก เป็นรูปหงส์อัญเชิญฉัตรสามชั้น ไว้บนหลัง ประดับด้วยลายดอกไม้ มีสาหร่ายรวงผึ้งด้านล่าง ด้านหน้า และหลังพระอุโบสถ มีมุขลดด้านละ 1 ห้อง ด้านข้างมี ชายคาปีกนกคลุมทั้งสองด้าน รองรับโครงหลังคา ด้วยเสาก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่ หัวเสามีบัว หัวเสาปูนปั้นทาสีประดับ มีระเบียงทางเดินได้รอบอาคาร ผนังก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่ บนฐานบัว ด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู ซุ้มประตูเป็นรูปสามเหลี่ยม ผนังด้านหลังมีประตูหลอกอยู่ตรงกลาง 1 ประตู ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 5 ช่อง บานประตูหน้าต่างเป็นไม้เรียบ ปัจจุบัน วัดเกาะ กำลังก่อสร้าง พระอุโบสถหลังใหม่ ขึ้นมาแทน พระอุโบสถ หลังเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรม
พระอาจารย์อัมพร เจ้าอาวาสวัดเกาะ
ใบเสมา และซุ้มเสมา
ซุ้มเสมาประธานหน้าพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนทรงมณฑปสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานบัว ส่วนยอดเป็นชุดบัวคลุมเถา ซุ้มเสมารองเป็นฐาน สี่เหลี่ยมรองรับดอกบัวกลม ด้านบนประดิษฐานใบเสมา ใบเสมาทำจากหินแกรนิตโกลนอย่างหยาบๆ แบบที่ อาจารย์ประยูร อุลุชาตะ เรียกว่า " เสมาโหล
ซุ้มเสมาประธานหน้าพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนทรงมณฑปสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานบัว ส่วนยอดเป็นชุดบัวคลุมเถา ซุ้มเสมารองเป็นฐาน สี่เหลี่ยมรองรับดอกบัวกลม ด้านบนประดิษฐานใบเสมา ใบเสมาทำจากหินแกรนิตโกลนอย่างหยาบๆ แบบที่ อาจารย์ประยูร อุลุชาตะ เรียกว่า " เสมาโหล
เจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถจำนวน 2 องค์ ตาม ประวัติวัด กล่าวว่า สร้างขึ้น ในสมัยเจ้าอาวาส องค์ที่ 4 "พระอธิการเดิมบาง" (พ.ศ.2358-2397) ลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือ ปูนทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม มีระเบียงล้อมรอบ ระเบียงประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบปรุ รูปหกเหลี่ยมแบบจีน ฐานเจดีย์ เป็นฐานหน้ากระดานกลม และมาลัยเถา 3 ชั้น ปากระฆังมีลวดลายปูนปั้น ตกแต่ง องค์ระฆังกลม ส่วนยอด เป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยม และเสาหานรองรับปล้องไฉน ลักษณะรูปแบบของเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยรัชกาลที่ 4
เจดีย์มอญ
ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ ตามประวัติ กล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 "พระครูกร่าง รมมโณ" (พ.ศ.2463-2505) ได้ร่วมกับชาวบ้าน สร้างเจดีย์มอญขนาดใหญ่ขึ้นไว้หน้า พระอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ ทรงระฆังกลมก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม โดยที่กึ่งกลางฐานแต่ละด้านเป็นซุ้มโค้งภาย ในมีรูปเทวดาปูนปั้น ที่มุมทั้งสี่มุมเป็นรูปครุฑ ฐานเจดีย์เป็นฐานหน้ากระดานกลม รองรับบัวถลา 5 ชั้นและลวดบัว องค์ระฆังกลม ส่วนยอดมีบัลลังก์สี่เหลี่ยมประดับ ลวดลายปูนปั้นรองรับปล้องไฉน ขนาดใหญ่และเม็ดน้ำค้าง บนยอดสุดมีฉัตรโลหะปัก
ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ ตามประวัติ
เก๋งจีนบรรจุอัฐิ
ตั้งอยู่ด้านข้างเจดีย์ทรงระฆัง ลักษณะเป็นเก๋งจีนก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก หลังคาทึบซ้อนกัน 2 ชั้น หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นขนาดเล็กทาสี ผนังด้านตะวันออกมีช่องสี่เหลี่ยม
ตั้งอยู่ด้านข้างเจดีย์ทรงระฆัง ลักษณะเป็นเก๋งจีนก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก หลังคาทึบซ้อนกัน 2 ชั้น หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นขนาดเล็กทาสี ผนังด้านตะวันออกมีช่องสี่เหลี่ยม
เสาหงส์
ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด ปัจจุบันถูกรื้อลงมากองไว้หน้าพระอุโบสถ ลักษณะเป็นเสาไม้สูงรูปแปดเหลี่ยม หัวเสาตกแต่งเป็นหัวเม็ด มีเสาประกบด้านข้างทั้งสองด้าน เดิมมีจำนวน 2 ต้น ต้นแรกบนสุดเป็นรูปช้างไม้ 4 หัว ต้นที่สองเป็นรูปม้าสำริด 4 หัว
ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด
การกำหนดอายุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ( สมัยรัชกาลที่ 4-5 )
แม่น้ำท่าจีน ถ่ายจากท่าน้ำหน้าวัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น