วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)


 องค์ บรรจุน
พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์ ต้นสกุล อรุณวงศ์ ณ อยุธยา บุตรเจ้าจอมมารดาเอม
        ชนชาติมอญในอดีตนั้น มีภูมิฐานบ้านเมืองอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่าปัจจุบัน มอญนั้นมีประวัติศาสตร์มายาวนาน สร้างสมอารยธรรมไว้อย่างมากมาย ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ คือเป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม ก่อนที่พวกพม่าซึ่งเป็นชนชาติตระกูลมองโกล-ธิเบต จะอพยพลงมาตั้งอาณาจักรอยู่เหนือดินแดนมอญขึ้นไปตอนบน ทว่าอยู่ในชัยภูมิที่แห้งแล้ง ห่างไกลทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเมืองท่าค้าขาย พม่าจึงเข้ารุกรานเมืองมอญเพื่อเปิดทางออกสู่ทะเล ทั้งกวาดต้อนนักปราชญ์ราชบัณฑิต รับเอาพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณี แม้แต่ตัวอักษรของมอญสู่อาณาจักรพม่า บางครั้งพม่าพยายามกลืนชาติมอญ โดยมักกล่าวว่ามอญและพม่าคือชาติเดียวกัน แต่เพราะทั้งสองชนชาติมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ ภาษาพูดตลอดจนนิสัยใจคอ โดยเนื้อแท้นั้นพม่ามีจิตใจที่แข็งกร้าวดุดันมาแต่เดิม แตกต่างจากพวกมอญที่มีความอ่อนโยน และประณีประนอม มอญจึงยังคงเป็นมอญมาจนกระทั่งทุกวันนี้
       มอญและพม่าต่างทำสงครามผลัดกันแพ้ชนะมาโดยตลอด แม้ส่วนใหญ่มอญจะอยู่ใต้อำนาจพม่า แต่หากพม่าหย่อนอำนาจลงเมื่อใด มอญก็กลับตั้งตัวเป็นอิสระ พม่ากลับมีกำลังเมื่อใด ก็ต้องปราบปรามอีก ถ้ามอญมีกำลังพอต่อสู้พม่าได้ มอญก็ตั้งอยู่เป็นอิสระ ถ้าทานกำลังพม่าไม่ได้หรือเป็นเวลาที่ไทยมีอำนาจมาก มอญก็หันมาพึ่งไทย เป็นดังนี้มาแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงครองกรุงสุโขทัย ตลอดมาจนครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครองกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุที่มอญไม่มีความนิยมต่อพม่า คอยหาโอกาสที่จะตั้งตนเป็นอิสระอยู่เสมอ เมื่อพระเจ้าอลองพญาทำสงครามชนะมอญ ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพม่า จึงมีความขัดเคือง คิดจะทำลายล้างพวกมอญให้สิ้นเผ่าพันธุ์ เมื่อมอญถูกพม่ากดขี่ข่มเหงต่างๆ และไม่มีกำลังพอจะต่อสู้พม่าได้ จึงอพยพหนีเข้ามาอยู่ในเมืองไทยดังพวกพระยาเจ่ง ซึ่งอพยพเข้ามาสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นต้น
      พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) ก็มีมูลเหตุในการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยด้วยเหตุผลเดียวกันกับชาวมอญอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) ท่านนี้สืบตระกูลมาจากสกุลอำมาตย์รามัญ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ต่อมามีบุตร ๑ คน ไม่ปรากฏชื่อและบรรดาศักดิ์ชัดเจนแน่นอน กล่าวกันไว้แต่ว่า “พระยาจักราเพชร(หงส์ทอง)” และว่ามีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาจักรา” ชื่อตัวว่า “เพชรหงส์ทอง” แต่พิจารณาดูแล้วเห็นว่ายาวเกินสมควรของชื่อคนในสมัยก่อน น่าจะเป็นเพียง “ทอง” หรืออย่างมาก “ทองมอญ” ด้วยความที่เป็นมอญจึงคงได้ฉายาว่า “ทองมอญ” แท้ที่จริงน่าจะชื่อว่า “ทอง” คำเดียวประกอบกับเจ้าตัว หรือเชื้อสายของตัวเองมาจากเมืองหงสาวดี จึงเกิดคำว่า “หงส์” เป็นฉายา ซึ่งหมายถึงมอญ เช่นฉายาว่ามอญ ท้ายชื่อทองของท้าวทรงกันดาล(ทองมอญ) นั้นก็เป็นได้ แต่คำว่าเพชรข้างหน้านั้นไม่ทราบที่มาแน่ชัด หรืออาจเรียกปะปนกับบรรดาศักดิ์เดิมว่า “สมิงดาบเพชร” ก่อนได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัตนจักรก็เป็นได้ ส่วนชื่อพระยาจักราก็ดูห้วนมากเกินไป อาศัยหลักที่ว่าเป็นมอญ ๑ และเป็นเจ้ากรมกองมอญอาสาที่ตรงกันนั้น จึงสันนิษฐานว่าที่ถูกต้องควรเป็น “พระยารัตนจักร” เจ้ากรมอาทมาตมอญ หนึ่งในกองมอญอาสา ๖ เหล่า และหากเป็นไปตามนี้แล้วคาดว่าตำแหน่งเดิมของพระยารัตนจักรนั้นน่าจะเรียกว่า “พระยาเพชรจักร” หรือ “จักรเพชร” เพราะ “เพชร” และ “รัตน” เป็นคำเดียวกัน
        พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) สกุลอำมาตย์รามัญนั้นท่านมีภรรยาหลายคน คนหนึ่งไม่ทราบชื่อเป็นสกุลชาวสวนบางเขน มีธิดา ๔ คน หนึ่งในนั้นชื่อ “ม่วง” ซึ่งไม่ทราบชื่อสามีและจำนวนบุตรธิดาทั้งหมด แต่ทราบเพียง ๑ คนเป็นหญิงชื่อ “แจ่ม” ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
        พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) นั้นมีบุตรธิดามากมายกับภรรยาหลายคน และมีธิดาอยู่ ๓ คนที่ขึ้นชื่อว่ารูปร่างหน้าตาสวยสดงดงามจนได้เป็นเจ้าจอมมารดาถึง ๒ ท่าน เป็นเจ้าจอม ๑ ท่าน ใน ๒ รัชกาล คือ
     ๑. เจ้าจอมมารดาป้อม
        เป็นธิดาพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาสกุลชาวสวนบางเขน เป็นน้องสาวของท่านม่วง ได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๑ เป็นเจ้าจอมมารดาที่งดงามมากคนหนึ่ง คาดว่าได้แสดงละครเป็นตัว “สีดา” ผู้คนจึงพากันเรียกว่าป้อมสีดา มีพระองค์เจ้า ๑ พระองค์คือ พระองค์เจ้าเรไร ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๘ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงไม่มีสายสืบสกุลต่อมา
    ๒. เจ้าจอมเพ็ง
     เป็นธิดาพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาคนที่ ๕ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตางดงามจึงได้เป็นเจ้าจอมละคร แสดงเป็นตัว “บาหยัน” ซึ่งเจ้าจอมเพ็งผู้นี้ไม่มีบุตรธิดา จึงขาดสายสกุลสืบต่อมา
    ๓. เจ้าจอมมารดาเอม
     เป็นธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาคนที่ ๖ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ด้วยรูปร่างหน้าตาที่หมดจดงดงามจึงเป็นเจ้าจอมละครในรัชกาลที่ ๒ แสดงเป็นตัว “บุษบา” ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดาเพราะให้กำเนิดพระองค์เจ้าคือ พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๕๕ ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวรศักดาพิศาล ได้ว่าการกรมกองแก้วจินดา แลกรมช่างหล่อ ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นกรมหลวงศักดาพิศาลสุพัฒนาการสวัสดิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้นสกุล “อรุณวงศ์ ณ อยุธยา”
พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
องค์ บรรจุน
พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์ ต้นสกุล อรุณวงศ์ ณ อยุธยา บุตรเจ้าจอมมารดาเอม
        ชนชาติมอญในอดีตนั้น มีภูมิฐานบ้านเมืองอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่าปัจจุบัน มอญนั้นมีประวัติศาสตร์มายาวนาน สร้างสมอารยธรรมไว้อย่างมากมาย ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ คือเป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม ก่อนที่พวกพม่าซึ่งเป็นชนชาติตระกูลมองโกล-ธิเบต จะอพยพลงมาตั้งอาณาจักรอยู่เหนือดินแดนมอญขึ้นไปตอนบน ทว่าอยู่ในชัยภูมิที่แห้งแล้ง ห่างไกลทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหาร และเมืองท่าค้าขาย พม่าจึงเข้ารุกรานเมืองมอญเพื่อเปิดทางออกสู่ทะเล ทั้งกวาดต้อนนักปราชญ์ราชบัณฑิต รับเอาพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณี แม้แต่ตัวอักษรของมอญสู่อาณาจักรพม่า บางครั้งพม่าพยายามกลืนชาติมอญ โดยมักกล่าวว่ามอญและพม่าคือชาติเดียวกัน แต่เพราะทั้งสองชนชาติมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ ภาษาพูดตลอดจนนิสัยใจคอ โดยเนื้อแท้นั้นพม่ามีจิตใจที่แข็งกร้าวดุดันมาแต่เดิม แตกต่างจากพวกมอญที่มีความอ่อนโยน และประณีประนอม มอญจึงยังคงเป็นมอญมาจนกระทั่งทุกวันนี้
       มอญและพม่าต่างทำสงครามผลัดกันแพ้ชนะมาโดยตลอด แม้ส่วนใหญ่มอญจะอยู่ใต้อำนาจพม่า แต่หากพม่าหย่อนอำนาจลงเมื่อใด มอญก็กลับตั้งตัวเป็นอิสระ พม่ากลับมีกำลังเมื่อใด ก็ต้องปราบปรามอีก ถ้ามอญมีกำลังพอต่อสู้พม่าได้ มอญก็ตั้งอยู่เป็นอิสระ ถ้าทานกำลังพม่าไม่ได้หรือเป็นเวลาที่ไทยมีอำนาจมาก มอญก็หันมาพึ่งไทย เป็นดังนี้มาแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงครองกรุงสุโขทัย ตลอดมาจนครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครองกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุที่มอญไม่มีความนิยมต่อพม่า คอยหาโอกาสที่จะตั้งตนเป็นอิสระอยู่เสมอ เมื่อพระเจ้าอลองพญาทำสงครามชนะมอญ ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพม่า จึงมีความขัดเคือง คิดจะทำลายล้างพวกมอญให้สิ้นเผ่าพันธุ์ เมื่อมอญถูกพม่ากดขี่ข่มเหงต่างๆ และไม่มีกำลังพอจะต่อสู้พม่าได้ จึงอพยพหนีเข้ามาอยู่ในเมืองไทยดังพวกพระยาเจ่ง ซึ่งอพยพเข้ามาสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นต้น
      พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) ก็มีมูลเหตุในการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยด้วยเหตุผลเดียวกันกับชาวมอญอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) ท่านนี้สืบตระกูลมาจากสกุลอำมาตย์รามัญ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ต่อมามีบุตร ๑ คน ไม่ปรากฏชื่อและบรรดาศักดิ์ชัดเจนแน่นอน กล่าวกันไว้แต่ว่า “พระยาจักราเพชร(หงส์ทอง)” และว่ามีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาจักรา” ชื่อตัวว่า “เพชรหงส์ทอง” แต่พิจารณาดูแล้วเห็นว่ายาวเกินสมควรของชื่อคนในสมัยก่อน น่าจะเป็นเพียง “ทอง” หรืออย่างมาก “ทองมอญ” ด้วยความที่เป็นมอญจึงคงได้ฉายาว่า “ทองมอญ” แท้ที่จริงน่าจะชื่อว่า “ทอง” คำเดียวประกอบกับเจ้าตัว หรือเชื้อสายของตัวเองมาจากเมืองหงสาวดี จึงเกิดคำว่า “หงส์” เป็นฉายา ซึ่งหมายถึงมอญ เช่นฉายาว่ามอญ ท้ายชื่อทองของท้าวทรงกันดาล(ทองมอญ) นั้นก็เป็นได้ แต่คำว่าเพชรข้างหน้านั้นไม่ทราบที่มาแน่ชัด หรืออาจเรียกปะปนกับบรรดาศักดิ์เดิมว่า “สมิงดาบเพชร” ก่อนได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัตนจักรก็เป็นได้ ส่วนชื่อพระยาจักราก็ดูห้วนมากเกินไป อาศัยหลักที่ว่าเป็นมอญ ๑ และเป็นเจ้ากรมกองมอญอาสาที่ตรงกันนั้น จึงสันนิษฐานว่าที่ถูกต้องควรเป็น “พระยารัตนจักร” เจ้ากรมอาทมาตมอญ หนึ่งในกองมอญอาสา ๖ เหล่า และหากเป็นไปตามนี้แล้วคาดว่าตำแหน่งเดิมของพระยารัตนจักรนั้นน่าจะเรียกว่า “พระยาเพชรจักร” หรือ “จักรเพชร” เพราะ “เพชร” และ “รัตน” เป็นคำเดียวกัน
        พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) สกุลอำมาตย์รามัญนั้นท่านมีภรรยาหลายคน คนหนึ่งไม่ทราบชื่อเป็นสกุลชาวสวนบางเขน มีธิดา ๔ คน หนึ่งในนั้นชื่อ “ม่วง” ซึ่งไม่ทราบชื่อสามีและจำนวนบุตรธิดาทั้งหมด แต่ทราบเพียง ๑ คนเป็นหญิงชื่อ “แจ่ม” ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
        พระยารัตนจักร(หงส์ทอง) นั้นมีบุตรธิดามากมายกับภรรยาหลายคน และมีธิดาอยู่ ๓ คนที่ขึ้นชื่อว่ารูปร่างหน้าตาสวยสดงดงามจนได้เป็นเจ้าจอมมารดาถึง ๒ ท่าน เป็นเจ้าจอม ๑ ท่าน ใน ๒ รัชกาล คือ
     ๑. เจ้าจอมมารดาป้อม
        เป็นธิดาพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาสกุลชาวสวนบางเขน เป็นน้องสาวของท่านม่วง ได้เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๑ เป็นเจ้าจอมมารดาที่งดงามมากคนหนึ่ง คาดว่าได้แสดงละครเป็นตัว “สีดา” ผู้คนจึงพากันเรียกว่าป้อมสีดา มีพระองค์เจ้า ๑ พระองค์คือ พระองค์เจ้าเรไร ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๘ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงไม่มีสายสืบสกุลต่อมา
    ๒. เจ้าจอมเพ็ง
     เป็นธิดาพระยารัตนจักร(หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาคนที่ ๕ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตางดงามจึงได้เป็นเจ้าจอมละคร แสดงเป็นตัว “บาหยัน” ซึ่งเจ้าจอมเพ็งผู้นี้ไม่มีบุตรธิดา จึงขาดสายสกุลสืบต่อมา
    ๓. เจ้าจอมมารดาเอม
     เป็นธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) เกิดจากภรรยาคนที่ ๖ ไม่ทราบชื่อและสกุลภรรยา ด้วยรูปร่างหน้าตาที่หมดจดงดงามจึงเป็นเจ้าจอมละครในรัชกาลที่ ๒ แสดงเป็นตัว “บุษบา” ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดาเพราะให้กำเนิดพระองค์เจ้าคือ พระองค์เจ้าชายอรุณวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๕๕ ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวรศักดาพิศาล ได้ว่าการกรมกองแก้วจินดา แลกรมช่างหล่อ ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นกรมหลวงศักดาพิศาลสุพัฒนาการสวัสดิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้นสกุล “อรุณวงศ์ ณ อยุธยา”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น