วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

วัดมอญ...วัดสามพระยา


วัดสามพระยา 
องค์  บรรจุน
วัดสามพระยา
พระอุโบสถ
      พระยานรานุกิจมนตรี (หนู) เป็นชาวมอญ รับราชการ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  มีบุตรหลายคน คนโตชื่อนาย สวาสดิ์ นับเป็นชั้นที่ ๙ ของตระกูลมอญในสยาม ได้ถวายตัว เป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวรฯ มีตำแหน่งเป็น นายนรินทร์ธิเบศร์ มหาดเล็กหุ้มแพรฝ่ายวังหน้า
       หลังจากที่เสียกรุงอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๐๐ นายนรินทร์ ธิเบศร์ได้เข้ารับราชการในกรมมหาดไทย สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาราชสงคราม ตำแหน่ง จางวางกรมทหาร ในพระราชวังหลวง
วัดสามพระยา

       พระยาราชสงครามมีภรรยาชื่อว่า “ลมุน” ซึ่งเป็นบุตรี ของพระยาวิจิตรนาวี บ้านอยู่ริมวัดหงษรัตนาราม คลอง บางกอกใหญ่ พระยาราชสงครามนั้นเป็นผู้มี ฝีมือในทางช่างไม้ เป็นพิเศษ เพราะเคยเป็นนายงานคุมช่างไม้เครื่องยอด มีบุตร ธิดาด้วยท่านผู้หญิงลมุน ๔ คน คือ  ๑.นาย ตรุษ  ๒. นายสารท  ๓.หญิงสุดใจ  ๔.หญิงพวา  สิ้นชีวิตในสมัยกรุงธนบุรี
       ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดฯ ให้นายตรุษ บุตรของพระยาราชสงคราม เข้ารับราช การ เป็น หลวงวิสุทธิโยธามาตย์ เจ้ากรมทหารใน และโปรด ให้นายสารท เป็น ขุนพรหม ตำแหน่งปลัดกรมทหารใน พร้อม กับโปรดฯ ให้หลวงวิสุทธิโยธามาตย์ และ ขุนพรหม สองพี่น้อง เป็นนายช่างควบคุมงานสร้างพระมณฑป พระพุทธบาท ๕ ยอด ตามแบบที่พระยาราชสงคราม ผู้เป็นบิดาเขียนไว้
วัดสามพระยา
กุฏิพระสงฆ์

       การสร้างมณฑปยังไม่แล้วเสร็จ ขุนพรหมได้ล้มป่วย ลง และถึงแก่กรรมในที่สุด จากนั้นมาอีก ๒ ปี การสร้างมณฑป จึงแล้วเสร็จ เมื่อพระวิสุทธิโยธามาตย์กลับมาถึงบ้าน ต้องการ สร้างอนุสรณ์ พร้อมทั้งสร้างกุศลผลบุญอุทิศแด่ขุนพรหม  น้องชาย จึงยกที่บ้านทั้งหมดของขุนพรหม ที่อยู่เหนือปาก คลองบางลำภู ถวายเป็นที่สร้างวัด เรียกชื่อว่า “วัดบาง ขุนพรหม” และชื่อชุมชนแต่เดิมที่เรียกว่า “บ้านลาน” จึง กลายเป็น “บ้านบางขุนพรหม” แต่นั้นมา
ในเชื้อสายตระกูลมอญชั้นที่หนึ่ง นับจากสมัยกรุง ศรีอยุธยาต่อกับกรุงธนบุรี มีขุนนางมอญชื่อ สมิงนรเดชะ นาม เดิม “มะปุ๊” เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง ในแผ่น ดินพระเจ้าบรมโกศ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุนภักดีณรงค์ ตำแหน่งเจ้ากรมไพร่หลวง เมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยา ขุนภักดีณรงค์ เข้ารับราชการในกรุงธนบุรี และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาเพชรราชา ตำแหน่งจางวางกรมพระนครบาล พระยา เพชรราชามีบุตรด้วยภรรยา ซึ่งไม่ปรากฏนาม รวม ๘ คน คือ
     ๑. บุญคง เข้ารับราชการฝ่ายพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ ๑ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรานุกิจมนตรี
     ๒. ทองอินทร์ ได้เป็นท่านผู้หญิงในพระยาจ่าแสน ยากร (ทุเรียน)
     ๓. มะโน๊ก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยารามัญวงศ์ จักรี มอญในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
     ๔. คุ้ม ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุรเสนาในแผ่น ดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     ๕. นก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสรราชในแผ่น ดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     ๖. มะทอเปิ้น ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุรินทรา มาตย์ ในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     ๗. สน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรโกษาในแผ่น ดิน พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
      ๘.น้อย ได้เป็นท่านผู้หญิงในพระยาจุฬาราชมนตรี (เลื่อน)

     เฉพาะบุตรคนที่หกคือ พระยาสุรินทรามาตย์ (มะทอเปิ้น) นี้ได้สมรสกับ “พวา” ซึ่งเป็นน้องสุดท้อง ของขุนพรหม (สารท) และเกิดบุตรชาย รวม ๓ คน คือ
      ๑. ขุนทอง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดี
      ๒. ทองคำ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชนิกุล
      ๓. ทองห่อ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเทพวรชุน
วัดสามพระยา
หอระฆัง
      พระยาทั้งสาม ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของขุนพรหม (สารท) มีความเห็นพ้องกันว่า วัดบางขุนพรหม ที่ลุงคนใหญ่ คือ หลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) สร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์แก่ ลุงคนเล็ก (ขุนพรหม) นั้น เป็นวัดขนาดใหญ่กว้างขวาง ทว่า ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ด้วยสร้างมายาวนาน กอรปด้วย ลุงผู้มีนามเป็นเจ้าของวัดไม่มีทายาทสืบสกุล หลานทั้ง ๓ คน ที่เป็นทายาทโดยตรง จึง พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์ วัดบางขุนพรหมขึ้นใหม่หมดทั้งวัด ครั้นแล้วเสร็จ ท่านพระยา ทั้งสามจึงพร้อมใจกันขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะแม เบญจศก พ.ศ.๒๓๖๖
      พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระทัย วัดบางขุนพรหม ที่ได้รับการปฏิสงัขรณ์อย่างงดงาม โปรด เกล้าฯ ให้ขึ้นบัญชีเป็นพระอารามหลวง พร้อมทั้งโปรดฯ ตั้งนามวัดขึ้นใหม่ให้สมกับ กุศลเจตนาและอนุสรณ์แด่ท่าน พระยาทั้ง ๓ พระราชทานนาม ว่า “วัดสามพระยาวรวิหาร” พระอารามหลวง นับแต่นั้นมา ตราบเท่าปัจจุบันนี้ 
วัดสามพระยา 
- วัดสามพระยา -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น